วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557










      
 พีระมิด

  พีระมิดในประเทศอียิปต์ เป็นหนึ่งในพีระมิดที่เป็นที่รู้จักโดยมีหลายแห่งในประเทศอียิปต์ เป็นสิ่งก่อสร้างของชาวอียิปต์โบราณสมัยก่อนยุคเหล็ก โดยเฉพาะ พีระมิดคูฟู ใน หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า นับเป็นสิ่งก่อสร้าง ขนาดใหญ่ที่สุด ที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาการ ที่น่าอัศจรรย์ของอียิปต์โบราณ








มหาพีระมิดกีซ่า (Giza Plateau)
• พีระมิดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ฝังพระศพของกษัตริย์อียิปต์โบราณ ชาวอียิปต์ในสมัยนั้นเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ดังนั้นจึงต้องแน่ใจว่ากษัตริย์ของพวกเขาจะทรงมีทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็น สำหรับโลกหน้า พวกเขาได้ฝังทรัพย์สินและสิ่งของส่วนพระองค์ไปพร้อมกัน สิ่งที่นักโบราณคดีค้นพบเป็นจำนวนมากในห้องเก็บสมบัติของปิรามิดได้แก่เพชร พลอย อาหาร เครื่องเรือน เครื่องดนตรี และอุปกรล่าสัตว์
• พีระมิดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกได้แก่ พีระมิดเห่งเมืองกีซ่า (เมืองกีเซห์) ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมศพของกษัตริย์คีออปส์(CHEOPS) หรือ คูฟู ซึ่งพระองค์เป็นผู้สร้างขึ้นเองเมื่อก่อนคริสตกาลประมาณ 25,800 ปี นับอายุจนถึงปัจจุบันก็กว่า 4,500 ปี ถือเป็นพีระมิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่กลางทะเลทราย พีระมิดแห่งนี้เดิมสูง 481.4 ฟุต แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 450 ฟุต ฐานกว้าง 768 ฟุต ใช้หินทรายตัดเป็นแท่งรูปสามเหลี่ยมหนักประมาณก้อนละ 2 ตันครึ่ง บางก้อนหนักถึง 16 ตัน โดยการนำเอามาซ้อนกันขึ้นไปเป็นทรงกรวย เชื่อกันว่าพีระมิดองค์นี้จะทนแดดทนฝนอยู่ได้อีกนานกว่า 5,000 ปี และเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของยุคโบราณสิ่งเดียวเท่านั้นที่มีอายุยืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน
• พีระมิดแห่งกีซ่าประกอบด้วย 1.พีระมิดคูฟู (Khufu) หรือ มหาพีระมิดแห่งกิซ่า (The Great Pyramid of Giza) ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน มีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า 2.พีระมิดคาเฟร (Khafre) ตั้งอยู่ตรงกลางของพีระมิดทั้ง 3 และสร้างอยู่บนพื้นที่สูง ทำให้ดูเหมือนมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีบางคนเข้าใจผิดว่าพีระมิดคาเฟรคือมหาพีระมิดแห่งกิซ่า ทางทิศตะวันออกของพีระมิดคาเฟรมี มหาสฟิงซ์(The Great Sphinx of Giza) หินแกะสลักขนาดมหึมาที่มักปรากฏในภาพถ่ายคู่กับพีระมิดคาเฟร 3.พีระมิดเมนคูเร (Menkaure) ขนาด เล็กที่สุดและเก่าแก่น้อยที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า จากตำแหน่งการก่อสร้างทำให้คาดได้ว่า เดิมอาจตั้งใจสร้างให้มีขนาดใกล้เคียงพีระมิดคูฟู และพีระมิดคาเฟรแต่ในที่สุดก็สร้างในขนาดที่เล็กกว่า พีระมิดเมนคูเรมักปรากฏในภาพถ่ายพร้อมกับหมู่พีระมิดราชินีทั้ง 3 (The Three Queen's Pyramids)






 มัมมี่ (Mummy)



      มัมมี่ (Mummy) คือศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษในประเทศอียิปต์ พันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ คำว่า "มัมมี่" มาจากคำว่า "มัมมียะ" (Mummiya) ซึ่งเป็นคำในภาษาเปอร์เซีย มีความหมายถึงร่างของซากศพที่ถูกดองจนกลายเป็นสีดำ โดยชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของฟาโรห์และ เชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝังในลักษณะแนวนอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบทะเลทรายอาระเบียและทะเลทรายในพื้นที่รอบบริเวณ ของอียิปต์ เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา
ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวลา

 

 


 

วิธีการทำมัมมี่

     นำศพของผู้ตายมาทำความสะอาด ล้วงเอาอวัยวะภายในออกโดยการใช้ตะขอที่ทำด้วยสำริดเกี่ยวเอาสมองออกทางโพรงจมูก แล้วใช้มีดที่ทำจากหินเหล็กไฟซึ่งมีความคมมาก กรีดข้างลำตัว เพื่อล้วงเอาตับ ไต กระเพาะอาหาร ปอดและลำไส้ออกจากศพ โดยเหลือหัวใจไว้
สาเหตุที่ไม่เอาหัวใจออกจากร่างด้วยเพราะเชื่อกันว่าหัวใจเป็นศูนย์รวม แห่งจิตวิญญาณ อวัยวะภายในเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยวัสดุประเภทขี้เลื่อย เศษผ้าลินิน โคลน และเครื่องหอม จากนั้นอวัยวะทั้งหมดจะถูกนำไปล้างด้วยไวน์ปาล์ม เสร็จแล้วก็จะถูกนำลงบรรจุในภาชนะสี่เหลี่ยม มีฝาปิด ที่รู้จักกันในชื่อของคาโนบิค ส่วนร่างของผู้ตายจะถูกนำไปดองโดยใช้เกลือประมาณ 7-10 วัน
เมื่อศพแห้งสนิทแล้ว ก็จะถูกนำมาเคลือบด้วยน้ำมันสน จากนั้นจะมีการตกแต่งและพันศพด้วยผ้าลินินสีขาวชุบเรซิน มัมมี่ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วจะถูกนำบรรจุลงในหีบศพ พร้อมกับเครื่องรางของขลังต่างๆ และมัมมี่บางตัวยังมีหน้ากากที่จำลองใบหน้าของผู้ตายวางไว้ในหีบศพของมัมมี่ อีกด้วย



 

วิหารอาบูซิมเบล (Abu Simbel)
 
 วิหารอาบูซิมเบล (Abu Simbel) สร้างโดยฟาโรห์รามเสสที่ 2 ( Ramses II ) เป็นวิหารที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของอียิปต์ อยู่ใกล้เขตแดนประเทศซูดาน มีขนาดใหญ่มาก สร้างขึ้นเมื่อปี 1270 BC หรือประมาณ 3260 ปีมาแล้ว โดยสกัดเจาะภูเขาทั้งลูก ด้านหน้าหันไปทางตะวันออก ประกอบด้วย 2 วิหารด้วยกันคือวิหารใหญ่และวิหารเล็ก วิหารใหญ่สร้างขึ้นสำหรับพระองค์เอง มีรูปหินแกะสลักของฟาโรห์ Ramses II นั่งบนบัลลังก์ 4 องค์ เรียงกันข้างละ 2 องค์ หันหน้าไปทางแม่น้ำ เพื่อแสดงถึงพลังและอำนาจของฟาโรห์ที่คอยดูแลปกป้องเหล่าเรือใบที่แล่นในแม่น้ำไนล์ ตรงกลางเจาะเป็นประตูทางเข้า ที่เท้าแกะสลักเป็นรูปพระมารดา พระราชินีและโอรสธิดาอีก 8 องค์ และสร้างรูปพระองค์สูงถึง 20 เมตร สร้างไว้ขู่พวก Nubia (พวกอาฟริกันผิวดำ) ซึ่งเป็นเมืองขึ้นมิให้กระด้างกระเดื่อง ส่วนวิหารเล็กสร้างอุทิศเพื่อมเหสีเนเฟอร์ทารี เพื่อทำการบวงสรวงเทพีฮาธอร์ อันเป็นเทพีแห่งดนตรีและความรักเปรียบเสมือนความรักระหว่างทั้ง 2 พระองค์
• ตรงเหนือประตูทางเข้า The Great Hypostyle Hall มีรูปสลักของเทพเหยี่ยว รูปของ Ramses II ยืนตรงข้างละ 4 องค์ ตามผนังเขียนประวัติด้วยภาษา Hieroglyphics ถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์ บนเพดานหินมีการสลักรูปเทพโอริซิส ฝาผนังทุกด้าน ถูกแกะสลักเป็นรูปฟาโรห์รามเสสที่สอง
• ห้องชั้นในสุด มีรูปหินแกะสลัก 4 องค์ประดิษฐานอยู่ คือ เทพเจ้า Amon, Ramses II, Hamakis และ Ptah ในแต่ละปีจะมีอยู่ 2 วันคือวันที่ 21 มีนาคม และ 21 กันยายน เวลา 5.58 น.แสงอาทิตย์จะส่องผ่านประตูทางเข้ามา ส่องแสงไปที่ Amon และ Ramses II ก่อน แล้วจะค่อยๆเลื่อนไปที่ Hamakis จะส่องสว่างอยู่ประมาณ 20 นาที โดยจะไม่มีแสงส่องไปที่เทพเจ้า Ptah เลย เพราะเทพเจ้า Ptah คือเทพเจ้าแห่งความมืด
• ทางซ้ายจะมีวิหารที่สร้างไว้ติดๆ กันคือ วิหารที่ Ramses II สร้างเอาไว้เป็นอนุสรณ์แด่พระนาง Nefertari พระราชินีที่พระองค์รักและโปรดมากที่สุด มีรูปสลักของฟาโรห์รามเสสที่สองในท่ายืนสี่รูป สลับกับรูปสลักของราชินีเนเฟอร์ทารี่ในท่ายืนอีกสองรูป ตรงตำแหน่งเท้า มีรูปสลักของโอรสและธิดา
• แม้วิหารมีขนาดใหญ่ แต่ก็ถูกทรายจากทะเลทรายพัดมากลบทีละเล็กละน้อยตลอดระยะเวลาพันๆ ปีจนมิด จนกระทั่งฝรั่งนักท่องเที่ยวชาวสวิสมาค้นพบเข้าเมื่อปี ค.ศ. 1813 คือประมาณร่วม 189 ปี มาแล้ว และเมื่อราว ค.ศ. 1964 ก็หวิดจะสาบสูญอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้จะจมลงไปใต้น้ำ เพราะหลังจากอียิปต์สร้างเขื่อนกั้นน้ำอัสวานแล้ว น้ำในทะเลสาบนัสเซอร์สูงขึ้น ต้องหาทางช่วยยกขึ้นหนีน้ำ องค์การยูเนสโกของสหประชาชาติ ได้ยื่นมือเข้ามาช่วย โดยใช้เงินถึง 40 ล้านดอลลาร์ จ้างคณะวิศวกร และคนงานออกแบบตัดวิหารออกเป็น 1,050 ส่วน แต่ละส่วนหนักเป็นสิบๆ ตัน แล้วยกขึ้นไปประกอบกันใหม่สูงจากระดับเดิมถึง 215 ฟุต โดยสร้างภูเขาเทียมรูปโดม (เป็นโพรงด้านใน) ด้วยคอนกรรีตเสริมใยเหล็กให้เมือนเดิมทุกประการ แล้วเอาชิ้นส่วนที่ตัดมาประกอบเข้าทั้งภายนอกและภายใน เหมือนจริงมาก แม้รอยต่อระหว่างชิ้นก็มองไม่เห็น





 สฟิงซ์อียิปต์


เป็นพันธุ์ที่เราเรียกว่า แอนโดรสฟิงซ์ (Andro-Sphinx) เป็นการผสมกันระหว่างมนุษย์กับสิงโต ส่วนหัวที่เหมือนมนุษย์นั้น มีสัญลักษณ์ ของฟาโรห์อียิปต์ แสดงไว้ชัดเจน คือมีเคราที่คาง ตรงหน้าผากมีงูจงอางแผ่แม่เบี้ย และมีเครื่องประดับ รัดเกล้าแบบกษัตริย์โดยรอบ ว่ากันว่า สฟิงซ์ คือ รูปเหมือนขนาดใหญ่กว่าร่างจริงสองเท่าของฮาร์มาชิส เทพแห่งรุ่งอรุณ เมื่อตอนที่แปลงร่าง เป็นสิงโต มีเศียร เป็นฟาโรห์อียิปต์หรือ "sphingein" แปลว่า "การบีบรัด"









 มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza)

มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza) คือ รูปสฟิงซ์แกะสลักด้วยหินขนาดใหญ่ที่สุด ใน ประเทศอียิปต์ มีตัวเป็น สิงโต และมีหัวเป็น มนุษย์ อยู่ในบริเวณหมู่พีระมิดทั้ง 3 แห่งกิซ่า หมอบเฝ้าอยู่ใกล้กับ พีระมิดคาเฟร โดยหันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก
สฟิงซ์คือชื่อ สัตว์ประหลาด ในตำนานไอยคุปต์วิทยา และมีในตำนานชนชาติอื่นด้วย มีลักษณะต่างกันไป แต่จะมีตัวเป็นสิงโตเหมือนกัน สฟิงซ์ในตำนานกรีก มีใบหน้าและช่วงอก เป็นหญิงสาว มีปีกแบบนกอินทรีย์ และสามารถพูดภาษามนุษย์ได้ สฟิงซ์จะคอยถามคำถาม กับมนุษย์ที่หลงมาพบมันเข้า หากตอบคำถามไม่ได้ มนุษย์ผู้เคราะห์ร้ายนั้นก็จะถูกสังหาร ส่วนสฟิงซ์ของอียิปต์โบราณ ไม่มีปีกมีหน้าเป็นมนุษย์ผู้ชาย และยังมีแบบที่หัวเป็นแกะ (Criosphinx) และหัวเป็นนกเหยี่ยว (Hierocosphinx) อีกด้วย
ชาวอียิปต์โบราณ แกะสลักหินเป็นรูปสฟิงซ์ไว้เป็นจำนวนมาก แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ มหาสฟิงซ์แห่งกิซ่า นี้เอง โดยนักโบราณคดีเชื่อว่า มหาสฟิงซ์แห่งกิซ่าเป็นอนุสาวรีย์ของ ฟาโรห์คาเฟร (Khafre) หรือ คีเฟรน(Chephren) ฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 4 ผู้สร้างพีระมิดคาเฟร เมื่อประมาณ 2600 ปี ก่อนคริสตกาล โดยเชื่อว่าใบหน้าของมหาสฟิงซ์ จำลองมาจากใบหน้า ของฟาโรห์คีเฟรน และสามารถสังเกตว่าส่วนหัวของ มหาสฟิงซ์ มีสัญลักษณ์ของฟาโรห์อียิปต์ แสดงเอาไว้อย่างชัดเจน คือมีเคราที่คาง มีงูจงอางแผ่แม่เบี้ยที่หน้าผาก และยังมีเครื่องประดับ รัดเกล้าแบบฟาโรห์ ประกอบเข้ากับผ้าคลุมศีรษะ และคออีกด้วย จึงถือกันว่ามหาสฟิงซ์นี้ เป็นอนุสาวรีย์แกะสลักเก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกัน อียิปต์โบราณถือกันว่าสฟิงซ์เป็นร่างจำแลงภาคหนึ่งของเทพเจ้า การที่ฟาโรห์คาเฟร ให้แกะสลักใบหน้าสฟิงซ์เป็นใบหน้าของพระองค์ จึงเป็นการแสดงว่าพระองค์เปรียบดังเทพเจ้านั่นเอง
   

  ฟาโรห์



   ฟาโรห์ (Pharaoh)เป็นชื่อตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์โบราณทุกราชวงศ์ มีต้นศัพท์คือคำว่า "pr-aa" แปลว่า บ้านอันใหญ่ (great house) ซึ่งเป็นคำอุปมาถึง พระราชมนเทียร
คำ "ฟาโรห์" นั้นปัจจุบันใช้เรียกพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของอียิปต์โบราณ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว เริ่มเรียกพระมหากษัตริย์อียิปต์ว่า "ฟาโรห์" กันในสมัยอาณาจักรใหม่ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงกลางราชวงศ์ที่สิบแปดเมื่อพ้นรัชกาลของนางแฮตเชปซุต (Hatshepsut) ไปแล้ว


 
                               ตุตันคาเมน (Tutankhamen)
• แม้พระองค์จะไม่ใช่มหาราชที่ยิ่งใหญ่หรือนักรบผู้เกรียงไกร แต่ชื่อของฟาโรห์ตุตันคาเมนก็เป็นที่รู้จักดียิ่งกว่าฟาโรห์องค์อื่นๆ เนื่องด้วยสุสานของพระองค์ที่ถูกขุดพบนั้นคงสภาพสมบูรณ์ยิ่งกว่าของฟาโรห์องค์ใด และกลายเป็นหลักฐานสำคัญในการบอกเล่าถึงเรื่องราวของอียิปต์โบราณ
• ฟาโรห์ตุตันคาเมน (Tutankhamen) ทรงเป็นพระโอรสของฟาโรห์อัคเคนาตันกับพระสนมคียา พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ในปีที่4 นับแต่การสวรรคตของอัคเคนาตัน โดยทรงมีพระชนมายุเพียงสิบชันษาเท่านั้น เมื่อเจริญวัยขึ้นจึงทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงอนัคซูนามุน ธิดาของฟาโรห์อัคเคนาตันกับราชินีเนเฟอร์ตีติ ตามประเพณีในสมัยนั้น
• ในสมัยของฟาโรห์ตุตันคาเมนนั้น อำนาจในราชสำนักตกอยู่ในมือของอัยย์ ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีและหัวหน้านักบวชแห่งจอมเทพอามอน กับนายพลโฮเรมเฮปผู้บัญชาการทหาร เนื่องจากในยุคอาณาจักรนี้ อียิปต์มีกองทหารประจำการเป็นทหารอาชีพ ซึ่งผิดกับในสมัยก่อนที่จะเป็นแรงงานที่เกณฑ์มาเฉพาะในยามศึก การมีกองทัพประจำการณ์ทำให้นายทหารกลายเป็นกลุ่มอำนาจกลุ่มที่3 นอกเหนือจากฟาโรห์และหัวหน้านักบวช
• ฟาโรห์ตุตันคาเมนครองราชย์เพียงสิบปีเท่านั้น พระองค์สวรรคตอย่างลึกลับ จากมัมมี่ของพระองค์ได้มีการพบรอยร้าวที่กระโหลก ซึ่งแสดงว่าพระองค์น่าจะสวรรคตจากการตกจากรถศึก นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพระองค์น่าจะถูกลอบปลงพระชนม์โดยคนใกล้ตัว ซึ่งอาจจะเป็นเสนาบดีอัยย์หรือไม่ก็นายพลโอเรมเฮป
• หลังการสวรรคตของพระองค์ ราชินีอนัคซูนามุนทรงส่งสาส์นไปยังกษัตริย์ฮิตไตท์ให้ทรงพระโอรส มาอภิเษกกับพระนางและเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โดยพระนางแจ้งไปในสาสน์ว่า "พระนางทรงหวาดกลัวที่จะต้องอภิเษกกับข้ารับใช้ของพระนาง" กษัตริย์ฮิตไตท์ก็ทรงส่งพระโอรสเดินทางมาอียิปต์ แต่ทว่าทันทีที่ขบวนเสด็จมาถึงเขตแดนอียิปต์ ก็ถูกซุ่มโจมตีและสังหารจนหมดทุกคน ทำให้ทางฮิตไตท์โกรธมาก ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรจึงตึงเครียดยิ่งขึ้น หลังจากนั้นอัยย์ซึ่งชรามากแล้วก็อภิเษกกับเจ้าหญิงอนัคซูนามุนและ ขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แต่ครองราชย์ได้เพียงสามปีก็ประชวรสวรรคต และในที่สุดนายพลโฮเรมเฮปก็กลายเป็นฟาโรห์พระองค์ใหม่







คลีโอพัตรา (Κλεοπάτρα θεά φιλοπάτωρ)
  คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปาตอร์หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ คลีโอพัตรา เกิดในเดือนมกราคม 69 ปีก่อนคริสตกาล - เสียชีวิตในวันที่ 30 พฤศจิกายน 30 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นราชินีแห่งอียิปต์โบราณ และเป็นสมาชิกคนสุดท้ายของราชวงศ์ปโตเลมีแห่งมาเซโดเนีย ดังนั้น จึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย บิดาของพระนางคือปโตเลมีที่ 12 โอเลเตส และคาดว่าพระมารดาเป็นเชษฐภคินีของโอเลเตส ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5 ทรีฟาเอนา ชื่อ"คลีโอพัตรา" เป็นภาษากรีก แปลว่า "ความเจริญรุ่งเรืองของบิดา" พระนามเต็มของพระนางคือ "คลีโอพัตรา เธอา ฟิโลปาตอร์" ซึ่งหมายถึง "เทพีคลีโอพัตรา ผู้เป็นที่รักของบิดา" พระนางทรงมีความเฉลียวฉลาดมาก ทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ภาษาฮิบรู ภาษาละติน ภาษามาซิโดเนีย ภาษาเอธิโอเปียน ภาษาซีเรีย ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอียิปต์ ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ก็น้อยคนนักที่จะแตกฉานในภาษานี้
  ในปัจจุบัน คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับได้ว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้นๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อนๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกับพระนางถูกลืมไปสิ้น จริงๆ แล้วพระนางไม่เคยปกครองอียิปต์ตามลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา พระอนุชา พระอนุชา - สวามี หรือไม่ก็พระโอรส แต่อย่างไรก็ดี การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศ เท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น







                          ฟาโรห์รามเสสที่2 มหาราช (Ramses II)
• หลังจากฟาโรห์โฮเรมเฮปสวรรคต ขุนทหารของพระองค์คนหนึ่งได้ทำการยึดอำนาจและขึ้นเป็นฟาโรห์รามเสสที่1 และเป็นฟาโรห์องค์แรกของราชวงศ์ที่19 ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดและฟาโรห์ที่โด่งดังที่สุดของราชวงศ์ นี้ก็คือฟาโรห์รามเสสที่2 ผู้เป็นโอรสของฟาโรห์เซติที่1
• ฟาโรห์รามเสสที่2 ครองราชย์ในปีที่1278 - 1212 ปี ก่อน ค.ศ. พระองค์ทรงเป็นนักปกครองที่ทรงความสามารถและนักรบที่เก่งกาจ ในสมัยของพระองค์อียิปต์ เจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งจากการค้า ทำให้มีการก่อสร้างเทววิหารและอนุสาวรีย์มากมายเพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์โดยที่โด่งดัง มากที่สุดคือมหาวิหารอาบูซิมเบลซึ่งแกะสลักเป็นรูปของพระองค์และพระราชินีเนเฟอร์ตารีมเหสีของพระองค์
• นอกจากนี้ฟาโรห์รามเสสที่2 ยังได้ปราบปรามชาวนูเบียทางตอนใต้จนยอมสวามิภักดิ์และได้ขยายอำนาจเข้าไปใน เอเชียโดยปราบปรามชนเผ่าต่างๆจนราบคาบ จากการ ขยายอำนาจครั้งนี้เองทำให้จักรวรรดิอียิปต์ต้องปะทะกับจักรวรรดิฮิตไตท์ซึ่ง เป็น มหาอำนาจแห่งตะวันออกกลางในเวลานั้น ชาวฮิตไตท์(Hittite) ตั้งถิ่นฐานบนคาบสมุทรอนาโตเลีย ปัจจุบันคือประเทศตุรกี มีความสามารถในการหลอมโลหะและเป็น พวกแรกที่นำเหล็กมาใช้ อันที่จริงแล้วนับแต่ยุคของอัคเคนาตัน ทางอียิปต์กับฮิตไตท์ก็มีการกระทบกระทั่งมาตลอดเนื่องจากฝ่ายฮิตไตท์ได้ กำราบไมตานนีพันธมิตรของอียิปต์และต่อมาหลังจากตุตันคาเมนสวรรคตลง พระนางแองคลีเซนปาเตนหรืออนัคซูนามุน ได้ส่งสาส์นไปขอโอรสกษัตริย์ฮิตไตท์มาอภิเษกด้วยแต่กลายเป็นว่าเจ้าชายฮิต ไตท์กลับถูกลอบสังหารในอียิปต์สร้างความตึงเครียดให้สูงขึ้น
• ในสมัยของรามเสสที่2 ทั้งสองฝ่ายพยายามเข้ามามีอิทธิพลในปาเลสไตน์และซีเรีย ทำให้กองทหารของฮิตไตท์และอียิปต์มีการกระทบกระทั่งกันบ่อยขึ้น ในที่สุดเพื่อคงความยิ่งใหญ่ของอียิปต์ไว้ ฟาโรห์รามเสสที่2 จึงตัดสินใจทำสงครามยึดครองเมืองคาเดซและขับไล่กองทหารฮิตไตท์ออกจาก ซีเรียและปาเลสไตน์ ทางฝ่ายฮิตไตท์ กษัตริย์มุลวาตาลลิส (Mulwatallis) ซึ่งทราบดีว่าสักวันหนึ่งสงครามต้องเกิดขึ้น จึงเคลื่อนกองทัพมารออยู่แล้ว
• ในปีที่1286 ก่อน ค.ศ. ฟาโรห์รามเสสที่2 ก็ทรงนำกองทัพซึ่งประกอบด้วยทหารราบ 20,000 คน และรถศึก 2,500 คัน เข้าโจมตีกองทัพของมุลวาตัลลิสซึ่งมีรี้พลใกล้เคียงกัน ในการรบอันดุเดือด ท้ายที่สุดไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะอันเด็ดขาดทั้งสองฝ่ายต่างสูญเสียรี้พลและอาวุธ เป็นจำนวนมาก และหลังจากที่มุลวาตัลลิสสวรรคตลง ทั้งสองฝ่ายจึงทำสัญญาสันติภาพระหว่างกัน โดยสนธิสัญญาฉบับนี้ถือว่า เป็นสนธิสัญญาสันติภาพฉบับแรกของโลก หลังจากนั้น กษัตริย์ฮิตไตท์ยังได้ส่งพระธิดามาอภิเษกกับฟาโรห์รามเสสที่2 เพื่อยืนยันในสันติภาพด้วย





 


 พระเจ้าสกอร์เปียน  (King Scorpion)

   พระเจ้าสกอร์เปียน หรือ สกอร์เปียน ที่ 2 (King Scorpion หรือ Scorpion II) ฟาโรห์ผู้รวบรวมอาณาจักรอียิปต์ทั้งบนและใต้เข้าไว้ด้วยกัน ในราว 3,200 ปีก่อนคริสตกาล ในปลายยุคก่อนราชวงศ์ เป็นผู้ครองนครธีส (This) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนกลางลุ่มน้ำไนล์ได้ กรีฑาทัพ เข้ายึดครองนครรัฐต่าง ๆ ในอียิปต์บนและตั้งตนเป็นฟาโรห์แห่งอาณาจักรบน พระองค์ปรารถนาจะรวมอียิปต์เข้าด้วยกันแต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อน โอรสของพระองค์ (ข้อนี้นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนักแต่จากหลักฐานที่มีแสดงว่าทั้งสองพระ องค์น่าจะเกี่ยวดองกัน) ที่มีนามว่า นาเมอร์ (Namer) ได้สานต่อนโยบายและกรีฑาทัพเข้าโจมตีอียิปต์ล่าง จนกระทั่งมาถึงสมัยของ ฟาโรห์เมเนส (Menese) พระองค์สามารถผนวกทั้งสองอาณาจักรเข้าด้วยกันได้สำเร็จและ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมมฟิส (Memphis) ซึ่งอยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำไนล์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้นับฟาโรห์เมเนสเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่ 1 ของอาณาจักรอียิปต์โบราณ

 
  ประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
 
             1. สมัยก่อนราชวงศ์ (The Predynastic Period)
             2. สมัยราชวงศ์ (The Dynastic Period)
             3. สมัยภายใต้การปกครองของผู้รุกราน (The Period of Invasion)

1. สมัยก่อนราชวงศ์  เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 4,500-3,110 B.C. ในสมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณยังไม่มี แต่ชาวอียิปต์โบราณได้เข้าตั้งมั่นบริเวณลุ่มน้ำไนล์แล้ว มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม มีหัวหน้าเป็นผู้นำด้านการปกครองและสังคม ขณะเดียวกันมักแย่งชิงดินแดนซึ่งกันและกัน ในที่สุดดินแดนทั้งสองฝั่งของลุ่มแม่น้ำไนล์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

                1. อียิปต์บน หรืออียิปต์ตอนใต้ (The Uppe Egypt or The Southern Egypt or The Narrow Valley) หมายถึงดินแดนอียิปต์ตอนใน บริเวณดังกล่าวเป็นป่าทึบและเกาะแก่งน้ำตก พื้นที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้้คนอยู่บางเบา
                2. อียิปต์ล่าง หรืออียิปต์ทางตอนเหนือ (The Lower Egypt of the Northen Egypt or The Nite Deits) หมาย ถึงดินแดนอียิปต์ตอนนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณดินแดนตอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์นั้นพื้นที่เหมาะ แก่การเพาะปลูกผู้คนอยู่หนาแน่นความเจริญเท่าที่ปรากฎในช่วงนี้คือ ความเจริญทุกอย่างของมนุษย์ที่สามารถทำได้ในยุคหิน รวมถึงรู้จักการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์และการชลประทาน

2. สมัยราชวงศ์  เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 3100-940 B.C. ในสมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณได้ก่อตั้งขึ้นและผู้นำชาวอียิปต์โบราณเป็นผู้ดำเนินการปกครองดินแดนอียิปต์เองเป็นส่วนใหญ่ สมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็นสมัยย่อยได้ ดังนี้
    1. สมัยต้นราชวงศ์ (The Protodynastic Period)
  2. สมัยอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom)
  3. สมัยอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom)
  4. สมัยอาณาจักรใหม่ หรือสมัยจักรวรรดิ (The New Kingdom or the Empire Age)

1. สมัยต้นราชวงศ์ (3110-2,665 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 1-2 เริ่มจากการแบ่งแยกดินแดน อียิปต์โบราณสิ้นสุดลงโดยความสามารถของผู้นำอียิปต์บนคือเมเนส (Menes) รวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกันสำเร็จในปี 3110 B.C. และยกตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 1 กำหนดให้เมมฟิสในอียิปต์ล่างเป็นเมืองหลวง แม้จะรวมดินแดนเข้าเป็นผืนเดียวกันก่อตั้งเป็นชาติขึ้น แต่ชาวอียิปต์โบราณก็ยังนิยมเรียกชาติตนครั้งนั้นว่า Land of Two Lands หลักฐานประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีน้อยมาก

2. สมัยอาณาจักรเก่า (2225-2180 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 3-6 สมัยนี้บางครั้งถูกเรียกว่า สมัยปิรามิด (The Pyramid Age) เพราะเกิดการสร้างปิรามิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีปิรามิดเกิดขึ้นมากกว่า 20 แห่ง ปิรามิดแห่งแรกสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์โจเซอร์ ในราชวงศ์ที่ 3 ที่เมืองสควารา และเพราะมีวิทยาการใหม่ ศิลปกรรม และสถาปัตยธรรมเจริญมากในราชวงศ์ที่ 4 ประจวบกับกษัตริย์มีอำนาจในการปกครองเป็นผลให้เกิดปิรามิดใหญ่ที่สุดขึ้น ปิรามิดอันนี้เป็นของกษัตริย์คูฟุ (Khufu) อยู่ที่เมือง กีซา (Giza) สมัยอาณาจักรเก่าสิ้นสุดลง ในราชวงศ์ที่ 6 เพราะกษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ ความทะเยอทะยานแย่งชิงอำนาจของขุนนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกขุนนางที่เรียกว่าโนมาร์ซ (Nomarch) เป็น ผลให้เป็นเวลาร่วมสองศตวรรษที่อียิปต์โบราณต้องวุ่นวายเกิดสงครามกลางเมือง ขึ้นบ่อยครั้งและต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกขุนนางช่วงดังกล่าวนี้ เรียกว่า ช่วงขุนนางปกครองครั้งที่หนึ่ง

3. สมัยอาณาจักรกลาง (2052-1786 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 11 ตอนปลายกับราชวงศ์ที่ 12 เริ่มด้วยกษัตริย์เมนตูโฮเต็ปที่ 2 (Mentuhotep 2) กษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ที่ 11 แห่งธีปส์ปราบปรามขุนนางได้และรวบรวมดินแดนอียิปต์โบราณเข้าด้วยกัน ทรงฟื้นฟูการค้าและสภาพแวดล้อม เวลาส่วนใหญ่ของสมัยอาณาจักรกลางอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 12 กษัตริย์ที่สามารถคือ อเมเนมฮัสที่ 1 (Amenemhat) ทรงเก่งในการรบและทรงฟื้นฟูการค้ากับฟินิเซียน

4. สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ (1554-1090 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 18-20 มีธีปส์เป็นเมืองหลวง จักรวรรดิ์อียิปต์โบราณเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเพราะกษัตริย์เก่งในการรบ การปกครอง อียิปต์โบราณต้องทำสงครามยาวนานกับฮิตไตท์ พระให้การสนับสนุนกษัตริย์ อำนาจของขุนนางหมดไป ในสมัยนี้อียิปต์โบราณมีนโยบายรุกรานชุมชนใกล้เคียงมุ่งขยายอำนาจและการป้องกันการรุกรานของศัตรูภายนอก ดินแดนอียิปต์ขยายกว้างใหญ่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีมากและแน่นอนกว่าสมัยใดๆ ที่ผ่านมา
 

 
 
 
การปกครอง
 
   มีกษัตริย์ปกครอง เรียกว่า ฟาโรห์ ( Pharaoh ) หมายถึง บ้านใหญ่ (The big house) ชาวอียิปต์นับถือฟาโรห์ เสมือนพระเจ้าองค์หนึ่ง เพราะเชื่อว่า ฟาโรห์ คือ เทพเจ้ามาจุติ เพื่อปกป้องและคุ้มครองของตน

พลเมืองของอียิปต์ แบ่งเป็น  4 ชนชั้น

1. ชั้นสูง - ประกอบด้วย 2 พวก คือ
 - Priests ได้แก่ นักบวช , พระ เป็นบุคคลรวยที่สุด รองจากฟาโรห์ มีความรู้สูง ฝึกให้เป็นแพทย์ รู้จักการผ่าตัด รักษาพยาบาล และ   รักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย
 - Nobles ได้แก่ พวกขุนนาง , ทหาร มีหน้าที่ป้องกันบ้านเมือง และรับใช้ฟาโรห์โดยตรง

2. ชั้นกลาง - ประกอบด้วย 2 พวก คือ
- Scriber ได้แก่ อาลักษณ์ ผู้จดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ
- Craftsmen , Merchants ได้แก่ ช่าง และ พ่อค้า

3. ชั้นต่ำ ได้แก่ พวก Peasant เป็นชาวนา พวกนี้ต้องทำงานหนัก มีความเป็นอยู่ยากแค้น

4. ทาส ได้แก่ พวกทาส พวกนี้ไม่มีสิทธิ์อย่างหนึ่งอย่างใด แม้จะทำงานหนัก ก็ไม่อาจเป็นเสรีชนได้