ฟาโรห์
ฟาโรห์ (Pharaoh)เป็นชื่อตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์โบราณทุกราชวงศ์ มีต้นศัพท์คือคำว่า "pr-aa" แปลว่า บ้านอันใหญ่ (great house) ซึ่งเป็นคำอุปมาถึง พระราชมนเทียร
คำ "ฟาโรห์" นั้นปัจจุบันใช้เรียกพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของอียิปต์โบราณ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว เริ่มเรียกพระมหากษัตริย์อียิปต์ว่า "ฟาโรห์" กันในสมัยอาณาจักรใหม่ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงกลางราชวงศ์ที่สิบแปดเมื่อพ้นรัชกาลของนางแฮตเชปซุต (Hatshepsut) ไปแล้ว
ตุตันคาเมน (Tutankhamen)
• แม้พระองค์จะไม่ใช่มหาราชที่ยิ่งใหญ่หรือนักรบผู้เกรียงไกร แต่ชื่อของฟาโรห์ตุตันคาเมนก็เป็นที่รู้จักดียิ่งกว่าฟาโรห์องค์อื่นๆ เนื่องด้วยสุสานของพระองค์ที่ถูกขุดพบนั้นคงสภาพสมบูรณ์ยิ่งกว่าของฟาโรห์องค์ใด และกลายเป็นหลักฐานสำคัญในการบอกเล่าถึงเรื่องราวของอียิปต์โบราณ
• ฟาโรห์ตุตันคาเมน (Tutankhamen) ทรงเป็นพระโอรสของฟาโรห์อัคเคนาตันกับพระสนมคียา พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ในปีที่4 นับแต่การสวรรคตของอัคเคนาตัน โดยทรงมีพระชนมายุเพียงสิบชันษาเท่านั้น เมื่อเจริญวัยขึ้นจึงทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงอนัคซูนามุน ธิดาของฟาโรห์อัคเคนาตันกับราชินีเนเฟอร์ตีติ ตามประเพณีในสมัยนั้น
• ในสมัยของฟาโรห์ตุตันคาเมนนั้น อำนาจในราชสำนักตกอยู่ในมือของอัยย์ ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีและหัวหน้านักบวชแห่งจอมเทพอามอน กับนายพลโฮเรมเฮปผู้บัญชาการทหาร เนื่องจากในยุคอาณาจักรนี้ อียิปต์มีกองทหารประจำการเป็นทหารอาชีพ ซึ่งผิดกับในสมัยก่อนที่จะเป็นแรงงานที่เกณฑ์มาเฉพาะในยามศึก การมีกองทัพประจำการณ์ทำให้นายทหารกลายเป็นกลุ่มอำนาจกลุ่มที่3 นอกเหนือจากฟาโรห์และหัวหน้านักบวช
• ฟาโรห์ตุตันคาเมนครองราชย์เพียงสิบปีเท่านั้น พระองค์สวรรคตอย่างลึกลับ จากมัมมี่ของพระองค์ได้มีการพบรอยร้าวที่กระโหลก ซึ่งแสดงว่าพระองค์น่าจะสวรรคตจากการตกจากรถศึก นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพระองค์น่าจะถูกลอบปลงพระชนม์โดยคนใกล้ตัว ซึ่งอาจจะเป็นเสนาบดีอัยย์หรือไม่ก็นายพลโอเรมเฮป
• หลังการสวรรคตของพระองค์ ราชินีอนัคซูนามุนทรงส่งสาส์นไปยังกษัตริย์ฮิตไตท์ให้ทรงพระโอรส มาอภิเษกกับพระนางและเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โดยพระนางแจ้งไปในสาสน์ว่า "พระนางทรงหวาดกลัวที่จะต้องอภิเษกกับข้ารับใช้ของพระนาง" กษัตริย์ฮิตไตท์ก็ทรงส่งพระโอรสเดินทางมาอียิปต์ แต่ทว่าทันทีที่ขบวนเสด็จมาถึงเขตแดนอียิปต์ ก็ถูกซุ่มโจมตีและสังหารจนหมดทุกคน ทำให้ทางฮิตไตท์โกรธมาก ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรจึงตึงเครียดยิ่งขึ้น หลังจากนั้นอัยย์ซึ่งชรามากแล้วก็อภิเษกกับเจ้าหญิงอนัคซูนามุนและ ขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แต่ครองราชย์ได้เพียงสามปีก็ประชวรสวรรคต และในที่สุดนายพลโฮเรมเฮปก็กลายเป็นฟาโรห์พระองค์ใหม่
คลีโอพัตรา (Κλεοπάτρα θεά φιλοπάτωρ)
คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปาตอร์หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ คลีโอพัตรา เกิดในเดือนมกราคม 69 ปีก่อนคริสตกาล -
เสียชีวิตในวันที่ 30 พฤศจิกายน 30 ปีก่อนคริสตกาล)
เป็นราชินีแห่งอียิปต์โบราณ
และเป็นสมาชิกคนสุดท้ายของราชวงศ์ปโตเลมีแห่งมาเซโดเนีย ดังนั้น
จึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย
บิดาของพระนางคือปโตเลมีที่ 12 โอเลเตส
และคาดว่าพระมารดาเป็นเชษฐภคินีของโอเลเตส ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5
ทรีฟาเอนา ชื่อ"คลีโอพัตรา" เป็นภาษากรีก แปลว่า
"ความเจริญรุ่งเรืองของบิดา" พระนามเต็มของพระนางคือ "คลีโอพัตรา เธอา
ฟิโลปาตอร์" ซึ่งหมายถึง "เทพีคลีโอพัตรา ผู้เป็นที่รักของบิดา"
พระนางทรงมีความเฉลียวฉลาดมาก ทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ภาษาฮิบรู
ภาษาละติน ภาษามาซิโดเนีย ภาษาเอธิโอเปียน ภาษาซีเรีย ภาษาเปอร์เซีย
ภาษาอียิปต์ ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ก็น้อยคนนักที่จะแตกฉานในภาษานี้ในปัจจุบัน คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับได้ว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้นๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อนๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกับพระนางถูกลืมไปสิ้น จริงๆ แล้วพระนางไม่เคยปกครองอียิปต์ตามลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา พระอนุชา พระอนุชา - สวามี หรือไม่ก็พระโอรส แต่อย่างไรก็ดี การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศ เท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น
ฟาโรห์รามเสสที่2 มหาราช (Ramses II)
• หลังจากฟาโรห์โฮเรมเฮปสวรรคต ขุนทหารของพระองค์คนหนึ่งได้ทำการยึดอำนาจและขึ้นเป็นฟาโรห์รามเสสที่1 และเป็นฟาโรห์องค์แรกของราชวงศ์ที่19 ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดและฟาโรห์ที่โด่งดังที่สุดของราชวงศ์ นี้ก็คือฟาโรห์รามเสสที่2 ผู้เป็นโอรสของฟาโรห์เซติที่1
• ฟาโรห์รามเสสที่2 ครองราชย์ในปีที่1278 - 1212 ปี ก่อน ค.ศ. พระองค์ทรงเป็นนักปกครองที่ทรงความสามารถและนักรบที่เก่งกาจ ในสมัยของพระองค์อียิปต์ เจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งจากการค้า ทำให้มีการก่อสร้างเทววิหารและอนุสาวรีย์มากมายเพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์โดยที่โด่งดัง มากที่สุดคือมหาวิหารอาบูซิมเบลซึ่งแกะสลักเป็นรูปของพระองค์และพระราชินีเนเฟอร์ตารีมเหสีของพระองค์
• นอกจากนี้ฟาโรห์รามเสสที่2 ยังได้ปราบปรามชาวนูเบียทางตอนใต้จนยอมสวามิภักดิ์และได้ขยายอำนาจเข้าไปใน เอเชียโดยปราบปรามชนเผ่าต่างๆจนราบคาบ จากการ ขยายอำนาจครั้งนี้เองทำให้จักรวรรดิอียิปต์ต้องปะทะกับจักรวรรดิฮิตไตท์ซึ่ง เป็น มหาอำนาจแห่งตะวันออกกลางในเวลานั้น ชาวฮิตไตท์(Hittite) ตั้งถิ่นฐานบนคาบสมุทรอนาโตเลีย ปัจจุบันคือประเทศตุรกี มีความสามารถในการหลอมโลหะและเป็น พวกแรกที่นำเหล็กมาใช้ อันที่จริงแล้วนับแต่ยุคของอัคเคนาตัน ทางอียิปต์กับฮิตไตท์ก็มีการกระทบกระทั่งมาตลอดเนื่องจากฝ่ายฮิตไตท์ได้ กำราบไมตานนีพันธมิตรของอียิปต์และต่อมาหลังจากตุตันคาเมนสวรรคตลง พระนางแองคลีเซนปาเตนหรืออนัคซูนามุน ได้ส่งสาส์นไปขอโอรสกษัตริย์ฮิตไตท์มาอภิเษกด้วยแต่กลายเป็นว่าเจ้าชายฮิต ไตท์กลับถูกลอบสังหารในอียิปต์สร้างความตึงเครียดให้สูงขึ้น
• ในสมัยของรามเสสที่2 ทั้งสองฝ่ายพยายามเข้ามามีอิทธิพลในปาเลสไตน์และซีเรีย ทำให้กองทหารของฮิตไตท์และอียิปต์มีการกระทบกระทั่งกันบ่อยขึ้น ในที่สุดเพื่อคงความยิ่งใหญ่ของอียิปต์ไว้ ฟาโรห์รามเสสที่2 จึงตัดสินใจทำสงครามยึดครองเมืองคาเดซและขับไล่กองทหารฮิตไตท์ออกจาก ซีเรียและปาเลสไตน์ ทางฝ่ายฮิตไตท์ กษัตริย์มุลวาตาลลิส (Mulwatallis) ซึ่งทราบดีว่าสักวันหนึ่งสงครามต้องเกิดขึ้น จึงเคลื่อนกองทัพมารออยู่แล้ว
• ในปีที่1286 ก่อน ค.ศ. ฟาโรห์รามเสสที่2 ก็ทรงนำกองทัพซึ่งประกอบด้วยทหารราบ 20,000 คน และรถศึก 2,500 คัน เข้าโจมตีกองทัพของมุลวาตัลลิสซึ่งมีรี้พลใกล้เคียงกัน ในการรบอันดุเดือด ท้ายที่สุดไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะอันเด็ดขาดทั้งสองฝ่ายต่างสูญเสียรี้พลและอาวุธ เป็นจำนวนมาก และหลังจากที่มุลวาตัลลิสสวรรคตลง ทั้งสองฝ่ายจึงทำสัญญาสันติภาพระหว่างกัน โดยสนธิสัญญาฉบับนี้ถือว่า เป็นสนธิสัญญาสันติภาพฉบับแรกของโลก หลังจากนั้น กษัตริย์ฮิตไตท์ยังได้ส่งพระธิดามาอภิเษกกับฟาโรห์รามเสสที่2 เพื่อยืนยันในสันติภาพด้วย
พระเจ้าสกอร์เปียน (King Scorpion)
พระเจ้าสกอร์เปียน หรือ สกอร์เปียน ที่ 2 (King Scorpion หรือ Scorpion II) ฟาโรห์ผู้รวบรวมอาณาจักรอียิปต์ทั้งบนและใต้เข้าไว้ด้วยกัน ในราว 3,200 ปีก่อนคริสตกาล ในปลายยุคก่อนราชวงศ์ เป็นผู้ครองนครธีส (This) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนกลางลุ่มน้ำไนล์ได้ กรีฑาทัพ เข้ายึดครองนครรัฐต่าง ๆ ในอียิปต์บนและตั้งตนเป็นฟาโรห์แห่งอาณาจักรบน พระองค์ปรารถนาจะรวมอียิปต์เข้าด้วยกันแต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อน โอรสของพระองค์ (ข้อนี้นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนักแต่จากหลักฐานที่มีแสดงว่าทั้งสองพระ องค์น่าจะเกี่ยวดองกัน) ที่มีนามว่า นาเมอร์ (Namer) ได้สานต่อนโยบายและกรีฑาทัพเข้าโจมตีอียิปต์ล่าง จนกระทั่งมาถึงสมัยของ ฟาโรห์เมเนส (Menese) พระองค์สามารถผนวกทั้งสองอาณาจักรเข้าด้วยกันได้สำเร็จและ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมมฟิส (Memphis) ซึ่งอยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำไนล์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้นับฟาโรห์เมเนสเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่ 1 ของอาณาจักรอียิปต์โบราณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น